รู้เขา รู้เรา ก่อนสั่งงานพิมพ์

1. อิงค์เจ็ท เป็นเครื่องพิมพ์แบบระบบหมึกพ่น มีสีหลัก 4 สี คือ แดง (Magenta) เหลือง (Yellow) น้ำเงิน (Cyan) และดำ (Black) เครื่องพิมพ์บางรุ่น เช่น Hewlett Packard อาจเพิ่มสี ฟ้า (Light Cyan) และชมพู (Light Magenta) เพื่อทำให้การพิมพ์ภาพอะเอียดและมีมิติมากขึ้น 

2. เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ถูกสั่งงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเดียวกับเครื่องปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ทในบ้านเรานั่นแหละ ดังนั้นงานอิงค์เจ็ทจึงไม่ต้องมีการทำเพลทสีเหมือนระบบ ซิลค์สกรีน หรือระบบออฟเซ็ท หากลูกค้าท่านใดไปร้านพิมพ์อิงค์เจ็ทแล้วโดนชาร์จค่าทำเพลท เท่านั้นเท่านี้ ขอบอกเลยว่า ท่านกำลังถูกหลอกแล้วหล่ะ

3. ถึงแม้ว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทจะทำงานแบบเดียวกับเครื่องพริ้นเตอร์ในบ้าน แต่เนื่องจากงานพิมพ์ภาพขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ Software เฉพาะด้านเพื่อให้ภาพยังคงรักษาคุณภาพและความละเอียดไว้ได้ ดังนั้นไฟล์งานสำหรับใช้กับเครื่องอิงค์เจ็ทจึงมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ไฟล์งานหลักๆที่สามารถใช้กับเครื่องอิงค์เจ็ทขนาดใหญ่ได้แก่ ไฟล์ .ai , .eps , .psd , .pdf, .jpg , .png , .tiff ฯลฯ ไฟล์งานของ Microsoft Office ทั้งหมดจะต้องถูกแปลงเป็นไฟล์เหล่านี้เสียก่อน

4. "รูปภาพแตก (Gain) ได้ยังไง...? ใน Artwork ของผมไม่เห็นแตกนี่"

งานกราฟฟิคนั้นมีอยู่ 2 แบบหลักๆ คืองานวาดเส้นเติมสีด้วยตัวเราเอง ส่วนใหญ่จะใช้ Software Illustrator งานเหล่านี้เรียกว่าไฟล์ Vector ส่วนอีกแบบนึงคืองานภาพถ่าย (Pixellet Photo) หรือภาพอะไรก็ตามที่ได้มาจากการถ่ายรูป งานภาพพิมพ์ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ก็มาจากไฟล์ 2 ประเภทนี้แหละ ไฟล์ Vector นั้นจะถูกขยาย ร้อยเท่าพันเท่า ภาพก็ไม่แตกครับ แต่ในทางตรงข้าม ไฟล์ Photo จะถูกลดความละเอียดของภาพ ทุกครั้งที่เราขยายจากภาพต้นฉบับ ดังนั้น ภาพแตกหรือไม่แตกจึงขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่างคือ 1. ภาพต้นฉบับที่เราถ่ายมามีขนาดใหญ่เท่าไหร่ 2.ภาพพิมพ์อิงค์เจ็ทที่เราต้องการมีขนาดเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น เราถ่าพภาพมาจากกล้องโทรศัพท์มือถือขนาด 1 MB และต้องการขยายให้ได้ขนาดเท่าป้ายบิลบอร์ด 20x20 เมตร อย่างนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกครับที่ภาพจะแตก แต่ถ้าเอาภาพเดียวกันมาทำโปสเตอร์ขนาด  60x80 ซม. การแตกของภาพก็ยังมีอยู่ แต่ว่าน้อยมากจนสายตาเรามองไม่เห็น

5. หากสีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับงานของลูกค้า เช่นสี Identity ของโลโก สี Identity ของผลิตภัณท์ ขอแนะนำให้มีการปรูพสีก่อนสั่งงานพิมพ์ทุกครั้ง ถึงแม้จะมีการสั่งงานซ้ำ (Reprint)หลายครั้งแล้วก็ตาม เนื่องจากการพิมพ์อิงค์เจ็ทเป็นการพิมพ์ระบบหมึกพ่นผสมสี ซึ่งโอกาสที่สีจะผิดเพี้ยนมีมากกว่าระบบออฟเซ็ท และ ซิลค์สกรีน การสั่งงานให้พิมพ์โดยอ้างอิงจากสี Pantone โดยไม่มีการปรูฟสี ได้สร้างหายนะมาสู่ลูกค้าและผู้พิมพ์มานักต่อนักแล้ว